AI ในอุตสาหกรรม ตัวช่วยสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนโลกการผลิต

AI ในอุตสาหกรรม ตัวช่วยสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนโลกการผลิต

อย่างที่รู้กันดีว่าในปัจจุบันนี้ “AI” ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทกับการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการทำงานในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ทั้งในเรื่องของการรักษาความปลอดภัย การรักษาพยาบาล การผลิตสินค้า รวมถึงการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งานในกระบวนการผลิต ไปจนถึงการนำ AI เข้ามาใช้กับธุรกิจออนไลน์ เป็นต้น สำหรับธุรกิจในประเทศไทยได้มีการนำระบบ AI เข้ามาปรับใช้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่ใช้ AI เพื่อดูแลด้านการผลิต และการวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงการให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

การนำระบบ AI เข้ามาใช้งานในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม

AI กับสถาบันการเงิน

รู้หรือไม่ว่า AI เข้ามาอยู่ในวงการการเงินมาอย่างยาวนานแล้ว โดยเฉพาะการนำข้อมูลมาประเมินและวิเคราะห์ทั้งหมด เนื่องจาก AI สามารถช่วยจัดการและทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการยื่นกู้ การวิเคราะห์ถึงความสามารถในการชำระหนี้ ไปจนถึงการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ เป็นต้น เพราะระบบ AI สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และทำให้สถาบันทางการเงินสามารถนำข้อมูลที่มีไปใช้ในการวิเคราะห์และสร้างโมเดลเพื่อประเมินผู้ยื่นกู้ และพยากรณ์จากข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประเมินถึงความสามารถในการชำระหนี้ให้แม่นยำยิ่งขึ้น

AI กับธุรกิจออนไลน์

ธุรกิจออนไลน์ คือหนึ่งในธุรกิจที่ใช้ระบบ AI เพื่อช่วยขับเคลื่อนตลาดให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นตัวช่วยในการรวบรวมและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ซื้อแล้ว ยังช่วยในการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับฐานลูกค้าของคุณได้อีกด้วย โดยการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มลูกค้า จัดกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อ เพื่อให้คุณสามารถวางแผนการตลาด นำเสนอสินค้าที่กลุ่มเป้าหมายนั้นน่าจะสนใจ หรืออาจจะซื้อในทันที ไปจนถึงการแนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้องกันเพื่อการซื้อในอนาคต นอกจากนี้ ระบบ AI ยังถูกใช้เพื่อพัฒนาบริการด้านการขนส่งและชิปปิ้งสินค้าให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ตอบโจทย์ตลาดออนไลน์ได้เป็นอย่างมาก ระบบ AI ยังเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างลูกค้ากับธุรกิจออนไลน์ได้ด้วย เช่น Chatbot ที่เป็น AI ทำหน้าที่เสมือนพนักงานที่ตอบแชทลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งตอบคำถาม แนะนำสินค้าหรือบริการ และคอยให้ความช่วยเหลือกับลูกค้าในทุกรูปแบบ สร้างมุมมองที่ดีกับลูกค้าต่อแบรนด์ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นด้วย

AI ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการขนส่ง

ในระบบโลจิสติกส์และการขนส่งนั้น เราจะเห็นได้ว่ามีการนำระบบ AI เข้ามาใช้งานอย่างชัดเจนที่สุด นั่นก็คือการนำข้อมูลจราจรมาวิเคราะห์สภาพการเดินทาง เพื่อให้คนขับรถสามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรที่ติดขัด และช่วยให้สะดวกต่อการขนส่งสินค้า รวมถึงยังมีการนำ demand forecast เข้ามาใช้งานเพื่อพยากรณ์ปริมาณของออเดอร์ ส่งผลให้การจัดเตรียมรถขนส่งและพนักงานมีอย่างเพียงพอต่อความต้องการในช่วง Peak season หรือจะเป็นการนำระบบ Order Split ที่ใช้ AI เข้ามาช่วยแยกในแต่ละออเดอร์ ให้สามารถจัดสรรพื้นที่ในการจัดวางเพื่อการขนส่ง เพิ่มความสามารถในการจัดส่งสินค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลการรับ-ส่งของเข้ามาใช้ประกอบการเลือกเส้นทางที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วด้วย นอกจากนี้การนำ AI เข้ามาวางแผนเส้นทางในการชิปปิ้งสินค้า ยังจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย โดยที่ระบบ AI สำหรับการขนส่งจะมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสินค้า และนำมาคำนวณพื้นที่การจัดวางในคอนเทนเนอร์หรือตู้ขนส่งต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่การจัดวางในแต่ละเที่ยวการขนส่ง จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายได้นั่นเอง

AI ในอุตสาหกรรมการผลิต

สำหรับในอุตสาหกรรมการผลิต ต้องบอกว่า AI ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานของเครื่องจักร หรือการนำมาใช้เพื่อปรับปรุงในขั้นตอนของการผลิต รวมไปถึงการตรวจสอบความสมบูรณ์ของสินค้า และยังครอบคลุมถึงด้านความปลอดภัยระหว่างการทำงานอีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในภาพรวมนั้น AI ได้ช่วยให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักรลดลง ทั้งในด้านของการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance) ซึ่งจะเป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักรนั้น ๆ เพื่อนำมาคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอุปกรณ์หรือเครื่องจักรจะชำรุดเมื่อไหร่ เพื่อลดปัญหาและความเสียหายของชิ้นงานที่อาจจะเกิดขึ้น และในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของ COVID-19 อาจทำให้การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมต้องชะลอตัว เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยเป็นหลัก ทำให้โรงงานหลาย ๆ แห่งต้องหยุดการผลิตเพราะขาดแรงงานคนในขั้นตอนการผลิต ส่งผลให้เกิดปัญหาสินค้าขาดแคลนในท้องตลาด แต่ในทางกลับกัน หากโรงงานนำระบบ AI เข้ามาใช้ในการผลิต ก็จะช่วยลดปัญหาเรื่องแรงงานไปได้ ซึ่งนอกจากจะใช้แรงงานคนที่น้อยลงแล้ว ยังสามารถควบคุมความสะอาดและความปลอดภัย และช่วยให้การประกอบธุรกิจได้ดำเนินต่อไปได้เร็วขึ้นอีกด้วย

AI กับการเกษตร

เกษตรกรรม คือหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก และจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาระบบต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอเพื่อลดภาระการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเกษตร ซึ่งระบบ AI ได้เข้ามาช่วยทั้งในด้านการวิเคราะห์แปลงเกษตร ว่าสภาพของดินเหมาะแก่การเพาะปลูกหรือไม่ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ระบบ AI ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากโดรนหรือดาวเทียม เพื่อทำการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถแบ่งพื้นที่ทั้งในการเพาะปลูกและการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม รวมถึงยังส่งผลดีต่อการวางแผนสำหรับการทำเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือควรที่จะต้องเพิ่มแร่ธาตุประเภทใดให้กับดินบ้าง ระบบ AI ยังสามารถทำการวิเคราะห์ใบของพืชว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน มีวัชพืชหรือขาดสารอาหารใดบ้าง ก่อนที่จะกำหนดปริมาณในการฉีดยาฆ่าวัชพืชหรือบำรุงปุ๋ยได้อย่างแม่นยำนั่นเอง ที่สำคัญก็คือ การนำระบบ AI เข้ามาใช้งานในภาคการเกษตรนั้น จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค และลดปริมาณสารตกค้างซึ่งเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลดีให้กับภาคการเกษตรให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันนี้ มีบริษัทที่ใช้ AI ในไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก การตัดสินใจนำระบบ AI เข้ามาใช้งานในองค์กรธุรกิจจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ในอนาคตอันใกล้ก็จะยิ่งช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนต่อการบริหารงานมากที่สุด

หากคุณกำลังมองหาบริษัท AI ชั้นนำในไทย เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ที่ Data Wow เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้ความช่วยเหลือคุณในด้านการวางระบบ AI ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ สามารถติดต่อเราได้ที่นี่ sales@datawow.io

ติดต่อเรา

ชื่อ*

ชื่อบริษัท*

ชื่อตำแหน่ง

เบอร์โทรศัพท์*

อีเมล*

ข้อความ

ฉันต้องการรับโปรโมชันและข่าวสารทางการตลาดเกี่ยวกับ Data Wow และบริการอื่น ๆ จากเรา บริษัทในเครือ บริษัทย่อยและพันธมิตรทางธุรกิจ ​(คุณสามารถยกเลิกได้ทุกเมื่อ)
ผลิตภัณฑ์ของเรา
ที่ตั้งบริษัท

1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6
ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110
ประเทศไทย

ติดตามเรา
ISO ISMISO PIM