Business Intelligence ธุรกิจอัจฉริยะ คืออะไร สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร ?

Business Intelligence ธุรกิจอัจฉริยะ คืออะไร สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร ?

มีคำเปรียบที่ว่า “Data is the new oil” หรือ “ข้อมูลคือน้ำมันชนิดใหม่” หมายถึง ข้อมูลเป็นสิ่งมีที่ค่า ทำให้องค์กรต่างหาวิธีที่จะนำข้อมูลไปใช้ให้ประเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่ง “Business Intelligence” คือหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่เข้ามาช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ชาญฉลาดและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน องค์กรจึงควรศึกษาเกี่ยวกับ Business Intelligence เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

Business Intelligence (BI) คืออะไร

ระบบธุรกิจอัจฉริยะ หรือ Business Intelligence คือ เทคโนโลยีที่ผสมผสานการวิเคราะห์ธุรกิจ (Data Analytics) การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) การทำข้อมูลให้เป็นภาพ (Data Visualization) เครื่องมือข้อมูล (Data Tools) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และแนวปฏิบัติที่ช่วยให้องค์กรตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด โดย BI Developer คือ ผู้ที่ใช้เครื่องมือและวิธีการเหล่านี้ ในการทำ Business Intelligence นั่นเอง

การทำงานของ Business Intelligence

bi developer คือ ขอบคุณรูปภาพจาก : IBM

ระบบการทำงานของ Business Intelligence หรือ Business Intelligence System มีเครื่องมือที่เกี่ยวข้องและวิธีการดังนี้

การจัดการข้อมูล (Data Sources)

ขั้นแรกของ Business Intelligence คือ การจัดการข้อมูล โดยต้องระบุข้อมูลที่จะนำไปตรวจสอบและวิเคราะห์ ว่าต้องการใช้ข้อมูในจากแหล่งใด เช่น คลังข้อมูล (Data Warehouse), Data Lake, Cloud Server และอื่น ๆ อีกมากมาย

การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)

ขั้นตอนต่อไปของ Business Intelligence คือ รวบรวมและทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleaning) จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่พร้อมใช้งาน โดยผ่านกระบวนการ (ETL Pipeline) ซึ่งมีขั้นตอนคือ Extract (ดึงข้อมูล), Transforming (แปลงข้อมูล) และ Loading (นำข้อมูลเข้าสู่ปลายทาง)

ทำความรู้จักขั้นตอนการทำความสะอาดข้อมูลได้ที่: ​Data Wrangling

การวิเคราะห์ (Data Analytics)

ขั้นตอนการวิเคราะห์ หรือ คือ ขั้นตอนที่หา “ข้อมูลเชิงลึก” (Insights) เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งอาจใช้เครื่องชุดคำสั่งต่าง ๆ เช่น การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) หรือ เครื่องมือสร้างแบบจำลองข้อมูล (Data Modeling Tools)

การทำข้อมูลให้เป็นภาพ (Data Visualization)

ขั้นตอนการทำข้อมูลให้เป็นภาพ คือ ขั้นตอนที่นำข้อมูลมาแสดงผลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็น กราฟ แผนภูมิ หรือแดชบอร์ด (Dashboard) โดยใช้เครื่องมือช่วย เช่น Google Looker Data Studio, Microsoft Power BI และ Tableau เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม: แนะนำ Tool การทำ Dashboard ที่จะช่วยให้รีพอร์ตของคุณดูดีมากกว่าเดิม

แผนปฏิบัติการ (Acton Plan)

ขั้นตอนสุดท้ายของการทำ Business Intelligence คือ พัฒนาข้อมูลเชิงลึกที่ได้มา โดยอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเทียบกับตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) เพื่อใช้ในการวางแผน ปรับปรุง และตัดสินใจได้ดีขึ้น

Business Intelligence สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร

หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจกันแล้วว่า Business Intelligence คืออะไร ประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง ต่อไปเราจะมาดูกันว่า Business Intelligence มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ที่สนับสนุนให้การทำธุรกิจตอบโจทย์การทำงานแบบ Digital Transformation

1. สามารถทำงานได้เป็นระบบ

ประโยชน์ข้อแรกของ Business Intelligence ที่สำคัญต่อธุรกิจ คือ ช่วยให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ สามารถเรียงลำดับงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างชัดเจน และช่วยประหยัดเวลาสำหรับผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ให้สามารถเข้าใจตรงและตัดสินใจร่วมกันได้จากข้อมูลที่มีอยู่

2. วางกลยุทธ์ได้อย่างชาญฉลาด

ประโยชน์ที่สำคัญข้อต่อไปของ Business Intelligence คือ รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ทำให้องค์กรสามารถนำข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์เพื่อออกแบบกลยุทธ์ได้อย่างชาญฉลาด

3. เพิ่มศักยภาพธุรกิจรอบด้าน

องค์กรสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก Business Intelligence มาพัฒนาหรือปรับปรุงธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการทำงานและการบริการลูกค้า ขจัดปัญหาในกระบวนการผลิต ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร รวมไปถึงการบริหาร Supplier อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยพลิกโฉมองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ Data Driven ได้อย่างเต็มตัว

4. สร้างการตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น

เมื่อมีการทำงานที่เป็นระบบ สามารถติดตามผล และวิเคราะห์ความคืบหน้าโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจ และสามารถปรับตัวได้ทันตามเทรนด์

5. สร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า

และประโยชน์ข้อสุดท้ายของ Business Intelligence คือ เมื่อรู้พฤติกรรมลูกค้าและสามารถวางกลยุทธ์ได้อย่างชาญฉลาดแล้ว จะส่งผลให้ลูกค้าพึงพอใจกับสินค้าหรือบริการและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้านั่นเอง (Customer Experience)

การนำ Business Intelligence มาปรับใช้ในธุรกิจ

business intelligence analyst คือ

การขายและการตลาด

ทีมการตลาดสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน ราคา ยอดขาย และภาพรวมของตลาด มาวางกลยุทธ์การตลาด เพื่อออกแบบแคมเปญและโปรโมชั่นได้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขาย

การวิเคราะห์ทางสถิติ

องค์กรสามารถตรวจสอบสถิติหาแนวโน้มใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการทำธุรกิจ และหาสาเหตุได้ว่าแนวโน้มเหล่านั้นเกิดขึ้นจากอะไร และจะส่งผลอย่างไรต่อธุรกิจ

การบริการลูกค้า

เนื่องจากข้อมูลลูกค้าและรายละเอียดสินค้าหรือบริการถูกจัดเก็บไว้ในแหล่งข้อมูลแบบรวม ตัวแทนฝ่ายบริการลูกค้าจึงสามารถตอบคำถามของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างตรงจุด

การรักษาความปลอดภัย

การใช้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized Database System) และแดชบอร์ดแบบรวม สามารถระบุสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ป้องกันข้อมูลจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ เช่น การละเมิดข้อมูล (Data Breach) หรือการโจมตีทางไซเบอร์ เป็นต้น

Business Intelligence Tools ที่น่าสนใจ

อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงเข้าใจกันแล้วว่า Business Intelligence หมายถึงอะไร มีกระบวนการและวิธีการปรับใช้กับธุรกิจอย่างไรบ้าง ในหัวข้อนี้เราจะแนะนำเครื่องมือ Business Intelligence ตัวอย่างที่น่าสนใจกัน

1. Tableau

business intelligence ตัวอย่าง

Tableau เป็น Business Intelligence Tools ที่โดดเด่นในการช่วยให้คนเห็นและเข้าใจข้อมูล ออกแบบมาเพื่อให้บุคลากรในองค์กรที่ไม่มีความรู้ด้าน IT ก็สามารถใช้งานเพื่อวิเคราะห์หรือสร้างรายงาน (Report) ได้เช่นกัน และยังมีแดชบอร์ดและแทมเพลตรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกเช่น ตาราง, กราฟแท่ง, กราฟเส้น, กราฟวงกลม และอีกมากมาย โดยสร้างได้ง่าย ๆ เพียงแค่ลากและวาง (Drag & Drop Interface) และใช้เวลาในการรอผลลัพธ์เพียงไม่กี่นาที จึงทำให้ Tableau ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรทั่วโลก

2. Microsoft Power BI

ระบบ bi คือ

Microsoft Power BI ก็เป็นตัวเลือกในการทำ Business Intelligence ที่น่าสนใจมากเช่นกัน เพราะสามารถดึงข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง ที่มีข้อมูลรูปต่าง ๆ มาวิเคราะห์ร่วมกันได้ ทำให้รองรับข้อมูลขนาดใหญ่และสร้างแดชบอร์ดได้สะดวกมากขึ้น มีเทมเพลตให้เลือกได้ตามความต้องการ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานร่วมกัน เพราะมี Cloud Collaboration และ Publishing Tools รองรับ โดย Microsoft Power BI สามารถทำงานบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ทั้ง คอมพิวเตอร์ (ยกเว้นระบบ MacOS), แท็ปเล็ต และสมาร์ทโฟน

3. Google Looker Studio

Business Intelligence Tools คือ ขอบคุณรูปภาพจาก : growketing

Google Looker Studio นับว่าเป็น Business Intelligence Tools ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีอินเตอร์เฟซ (Interface) ที่ใช้งานง่าย และใช้งานได้ฟรีเพียงแค่มี Gmail หรือ Google Account โดยฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ Google Looker Studio คือ สามารถรวบรวมข้อมูลจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ จาก Google เช่น Google Ads, Google Analytics, Google Search Console และ YouTube เป็นต้นต้น รวมไปถึงแพลตฟอร์ม Social Media อื่น ๆ อย่าง Facebook และ X พร้อมมีแทมเพลตมากถึง 30 รูปแบบให้เลือกใช้

สรุป Business Intelligence

เพื่อให้สามารถมองภาพรวมของธุรกิจได้อย่างทะลุปรุโปร่ง และใช้ข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างมีมูลค่า ระบบ BI หรือ Business Intelligence คือคำตอบที่ดี เพราะเป็นระบบที่เหมาะกับการทำงานในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง ส่งผลให้สามารถนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาผสมผสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพขององค์กรได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

พลิกโฉมองค์กรด้วยการใช้ระบบ Business Intelligence ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณได้ที่ Data Wow เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Data ที่มีประสบการณ์มากมายจากหลายภาคธุรกิจ ช่วยให้การทำ (Data Analytics) ในองค์กรของคุณมีความแม่นยำ ได้ Insights ที่ตอบโจทย์ สนับสนุนองค์กรของคุณให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำและได้เปรียบคู่แข่งทางธุรกิจ ปรึกษาเราได้วันนี้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560

ติดต่อเรา

ชื่อ*

ชื่อบริษัท*

ชื่อตำแหน่ง

เบอร์โทรศัพท์*

อีเมล*

ข้อความ

ฉันต้องการรับโปรโมชันและข่าวสารทางการตลาดเกี่ยวกับ Data Wow และบริการอื่น ๆ จากเรา บริษัทในเครือ บริษัทย่อยและพันธมิตรทางธุรกิจ ​(คุณสามารถยกเลิกได้ทุกเมื่อ)
ผลิตภัณฑ์ของเรา
ที่ตั้งบริษัท

1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6
ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110
ประเทศไทย

ติดตามเรา
ISO ISMISO PIM