ETL คืออะไร? มารู้จักกับกระบวนการสำคัญที่ช่วยจัดการข้อมูลให้ธุรกิจ

ETL คืออะไร? มารู้จักกับกระบวนการสำคัญที่ช่วยจัดการข้อมูลให้ธุรกิจ

ETL คืออะไร? มารู้จักกับกระบวนการสำคัญที่ช่วยจัดการข้อมูลให้ธุรกิจ

Data หรือข้อมูลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา องค์กรหรือธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอยู่เสมอ ด้วยข้อมูลที่มีอยู่มากมาย ทั้งที่สำคัญและไม่สำคัญ องค์กรควรจะมีวิธีใดในการจัดระเบียบกับข้อมูล หรือคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญกับธุรกิจออกมา ไม่ว่าจะเพื่อการทำความเข้าใจลูกค้า หรือเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อพัฒนาธุรกิจ Data Wow ขอแนะนำให้รู้จักกับกระบวนการสำคัญที่ช่วยจัดการข้อมูลให้ธุรกิจ นั่นก็คือกระบวนการ ETL (Extract, Transform และ Load)

enter image description here

ความหมายของ ETL

ETL ย่อมาจาก Extract Transform Load ซึ่งการทำ ETL คือกระบวนการในการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายมารวมไว้ในที่เก็บข้อมูลปลายทาง กระบวนการ ETL เป็นการบริหารจัดการข้อมูลก่อนจะนำไปใช้ในองค์กรหรือธุรกิจต่อไป

กระบวนการทำ ETL ในแต่ละขั้นตอน มีลำดับดังนี้

1. Extract (การดึงข้อมูล)

เริ่มจากการดึงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากแหล่งเดียวกันหรือมากกว่านั้น ทั้งข้อมูลออนไลน์ ข้อมูลระบบเก่า หรือจากแหล่งอื่น ๆ หลังจากดึงข้อมูลเสร็จสิ้น ข้อมูลจะถูกโหลดเข้าสู่พื้นที่พักข้อมูลชั่วคราว (Staging Area)

2. Transform (การแปลงข้อมูล)

การแปลงข้อมูลนั้น ประกอบด้วยการนำข้อมูลมาทำความสะอาด เช่น คัดกรองเอาข้อมูลซ้ำออก ปรับแต่ง และแปลงโครงสร้างข้อมูล เพื่อให้สามารถเก็บไว้ในที่เก็บข้อมูลปลายทาง และเหมาะสมในการนำไปวิเคราะห์ต่อ

3. Load (การจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบ)

ขั้นตอนสุดท้ายคือการจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการแปลงแล้วเข้าสู่ฐานจัดเก็บข้อมูลปลายทางที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น Database, Data Warehouse, หรือ Data Lake เป็นต้น

ประโยชน์ของ ETL กับธุรกิจ

ช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับธุรกิจโดยตรง

การที่ธุรกิจหรือองค์กรมีข้อมูลที่กระจัดกระจายในระบบ หรือจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง ทำให้การมองภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจเป็นเรื่องที่ซับซ้อน การทำ ETL จะช่วยให้สามารถคัดแยกและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และทำให้ได้มุมมองของธุรกิจที่ถูกต้องและครบถ้วน

ช่วยในการตัดสินใจของธุรกิจ

การทำ ETL สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจจากการเข้าถึง Insight หรือข้อมูลเชิงลึกแนวโน้มต่าง ๆ และข้อมูลใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นประโยชน์และเอื้อต่อการตัดสินใจของธุรกิจ

ประหยัดเวลาจากการประมวลผลที่รวดเร็ว

กระบวนการ ETL มีการทำงานแบบระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่สามารถกำหนดเวลาในการไหลเวียนของข้อมูล และประมวลผลชุดข้อมูลปริมาณมหาศาลโดยอัตโนมัติ ซึ่งรวดเร็วและมีประสิทธิภาพกว่าการประมวลผลจากข้อมูลที่เก็บแยกออกจากกัน นั่นหมายความว่ากระบวนการ ETL จะทำให้ธุรกิจได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ไปใช้ได้ไวขึ้น

ตัวอย่างในการทำ ETL

การรวบรวมข้อมูลทางการตลาด (Marketing Data Integration)

การรวบรวมข้อมูลทางการตลาดเกี่ยวข้องกับการย้ายข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าของธุรกิจมารวมไว้ในที่เดียวกัน เช่น ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ข้อมูลทางโซเชียลมีเดีย เพื่อนำไปวิเคราะห์และพัฒนาแผนการตลาดในอนาคต

การรวบรวมข้อมูล IoT (IoT Data Integration)

IoT หรือ Internet of Things คือการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมถึงกันได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถรวบรวมและส่งข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์ที่ฝังอยู่ในฮาร์ดแวร์ ข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT มีทั้งอุปกรณ์ในโรงงาน เซิร์ฟเวอร์เครือข่าย สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ การทำ ETL ช่วยในการย้ายข้อมูลจากแหล่งข้อมูล IoT หลาย ๆ แหล่งไปรวมกันเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในแหล่งเดียว

การให้บริการ ETL โดย Data Wow

หากองค์กรหรือธุรกิจกำลังมองหาโซลูชั่นในการจัดระเบียบข้อมูลปริมาณมหาศาล เพื่อสามารถนำมาใช้ตัดสินใจและปรับปรุงธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น Data Wow มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ในการทำ ETL มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพในการพัฒนาการทำ ETL อยู่เสมอ ตลอดจนระบบวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อต่อยอดให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถจัดการกับข้อมูล เพื่อการเติบโตและการพัฒนาธุรกิจได้อย่างตรงจุดในทุกช่วงเวลา สนใจบริการ ETL สามารถปรึกษาทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก Data Wow ได้โดยตรง

ติดต่อเรา

ชื่อ*

ชื่อบริษัท*

ชื่อตำแหน่ง

เบอร์โทรศัพท์*

อีเมล*

ข้อความ

ฉันต้องการรับโปรโมชันและข่าวสารทางการตลาดเกี่ยวกับ Data Wow และบริการอื่น ๆ จากเรา บริษัทในเครือ บริษัทย่อยและพันธมิตรทางธุรกิจ ​(คุณสามารถยกเลิกได้ทุกเมื่อ)
ผลิตภัณฑ์ของเรา
ที่ตั้งบริษัท

1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6
ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110
ประเทศไทย

ติดตามเรา
ISO ISMISO PIM