สรุป ความสำคัญของ Industrial Internet Of Things (IIOT) ฉบับเข้าใจง่าย

สรุป ความสำคัญของ Industrial Internet Of Things (IIOT) ฉบับเข้าใจง่าย

เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นอกจากจะทำให้องค์กรต่าง ๆ เริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มตัวแล้ว (Digital Transformation) ยังส่งผลไปถึงการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในการทำอุตสาหกรรม เพื่อปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์ พัฒนาเครื่องจักร และวางแผนไลน์ผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

บทความนี้จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Industrial Internet Of Things หรือ Industrial IoT หนึ่งในเทคโนโลยีพัฒนาระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ที่จะช่วยให้การทำธุรกิจของคุณสามารถพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดดในยุคอุตสาหกรรม 5.0

Industrial IoT คืออะไร

Industrial IoT ย่อมาจาก Industrial Internet of Things หรือที่เรียกกันว่า IIoT โดย Industrial IoT คือ การนำเครื่องจักรระบบอุตสาหกรรม กระบวนการวิเคราะห์ขั้นสูง และคน มาเชื่อมต่อและสื่อสารกันได้อย่างเป็นเครือข่าย เพิ่มคุณภาพให้กับข้อมูล สามารถเฝ้าดู เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนและแสดงผลข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด และเป็นแนวทางในเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต โลจิสติกส์ และการดำเนินงานอื่น ๆ ให้เชื่อมต่อกันบนระบบดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์

การทำงานของระบบ Industrial IoT

industrial iot software

โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ระบบ Industrial IoT สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีดังนี้

1. การเชื่อมต่อ - Connectivity

การเชื่อมต่อ เป็นองค์ประกอบสำคัญของการเริ่มทำ Industrial IoT โดยติดตั้งเซนเซอร์ (Sensor) ที่เครื่องจักรแล้วต่อกับอุปกรณ์ควบคุม เพื่อใช้ในการวัดค่าต่าง ๆ เช่น ค่าความดันอากาศหรือค่าความชื้น ซึ่งต้องอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) เพื่อรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเครื่องจักร และช่วยให้สามารถดำเนินการประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับระบบ Cloud Sever เพื่อให้มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่เพียงพอและเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งานข้อมูล

2. การเก็บข้อมูล - Data Collection

เมื่อติดตั้งเซนเซอร์และเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการเก็บข้อมูลที่ได้มาจากการวัดด้วยเซนเซอร์ เช่น ข้อมูลการทำงาน ข้อมูลด้านสมรรถนะเครื่องจักร ข้อมูลระยะของแต่ละขั้นตอน รวมไปถึงการแจ้งเตือนเมื่อพบเจอความเสียหาย หรือความผิดปกติ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกบันทึกโดยอัตโนมัติและส่งต่อไปยัง Cloud Server หรือ Edge Computing ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ และมีความเป็นส่วนตัว เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูล Industrial IoT รั่วไหล

3. การบูรณาการและวิเคราะห์ข้อมูล - Data Integration & Analytics

เพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานในยุคอุตสาหกรรม 5.0 การวิเคราะห์ข้อมูลของระบบ Industrial IoT จึงมีการนำเทคโนโลยีทันสมัยอย่าง Artificial Intelligence หรือ AI และ Machine Learning มาใช้ในการสร้างแบบจำลอง (Model) โดยใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อทำความเข้าใจชุดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) และมีความซับซ้อน ประมวลผลเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต (Descriptive Analytics) เพื่อวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness: OEE) หาสาเหตุว่าทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น (Diagnostic Analytics) และคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต (Predictive Analytics)

เจาะลึกการวิเคราะห์ข้อมูล: Data Analytics คืออะไร ศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ที่ทุกองค์กรต้องการ

4. การแสดงผลและบริหารจัดการทางธุรกิจ - Visualization & Actions

หลังจากผ่านการวิเคราะห์และบูรณาการจนได้ข้อมูลจนได้ข้อมูลเชิงลึกแล้ว (Insight) กระบวนการต่อไปเป็นการแสดงผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของ Data Visualization เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรสามารถเข้าใจข้อมูลได้ทันที ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่แสดงค่าชี้วัดและค่าเฉลี่ยต่าง ๆ ผ่าน Industrial IoT Software ในรูปแบบ IoT Dashboard เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ การบำรุงรักษาเครื่องจักร การวางแผนไลน์ผลิต และการบริหารทรัพยากร เป็นต้น

ประโยชน์ของการทำ Industrial IoT

ประโยชน์ของ Industrial IoT ตัวอย่างเช่น ช่วยให้อุตสาหกรรมของคุณสามารถปรับตัวสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ สามารถระบุปัญหาและซ่อมแซมเครื่องจักรได้อย่างตรงจุด ยังมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ดังต่อไปนี้

industrial iot solutions

1. ตรวจสอบสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องจักรเป็นแรงงานสำคัญในกระบวนการผลิตสินค้า หากเครื่องจักรมีความผิดปกติ หรือได้รับความเสียหาย ก็อาจกระทบต่อไลน์ผลิตสินค้าโดยตรง การนำระบบ Industrial IoT มาปรับใช้กับอุตสาหกรรมที่ช่วยแจ้งเตือนเมื่อตรวจพบความเสียหายของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการซ่อมแซมและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เมื่อสินค้ามีปัญหา ไม่ได้คุณภาพเหมือนเดิม ก็สามารถตรวจสอบได้ว่ามีสาเหตุมาจากขั้นตอนใด เพื่อหาแนวทางปรับปรุงไลน์ผลิตเพื่อส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพสู่ลูกค้า

อ่านเพิ่มได้ที่: ระบบ AI Quality Control ตัวช่วยดี ๆ ในการควบคุมคุณภาพสินค้า

2. ติดตามผลลัพธ์ได้แบบเรียลไทม์

เนื่องจากระบบ Industrial IoT มีการติดตั้งเซนเซอร์ที่เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างเพื่อวัดค่าต่าง ๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ทราบสถานะการทำงานของเครื่องจักร สามารถติดตามการทำงานได้แบบเรียลไทม์ โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้เพื่อพัฒนาเครื่องจักรหรือเพิ่มจำนวนเครื่องจักร และเป็นการบริหารต้นทุนการผลิตที่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดสรรงบประมาณในการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

3. วิเคราะห์การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์

Industrial IoT คือ กระบวนการที่เก็บและบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์บำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ หรือ Predictive Maintenance ที่ใช้ประเมินศักยภาพของเครื่องจากข้อมูลในอดีต เพื่อให้สามารถคาดเดาระยะเวลาที่เครื่องจักรจะเสื่อมสภาพ และวางแผนเพื่อจัดการหรือซ่อมแซมเครื่องจักร ก่อนที่จะเสียและไม่สามารถใช้งานได้อีก

4. วางแผนและพัฒนากระบวนการผลิต

จากประโยชน์ของ Industrial IoT ที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าทุกข้อส่งผลให้สามารถวางแผนและพัฒนากระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อดีที่โดดเด่นของ Industrial IoT Solutions เพราะการนำ Industrial IoT Platforms มาใช้รายงานผลลัพธ์ แสดงค่าชี้วัดและค่าเฉลี่ยต่าง ๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ช่วยให้ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องตีความข้อมูลได้อย่างเฉียบขาด และใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ วางแผน ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการผลิตให้มีศักยภาพมากขึ้น

เริ่มวางแผนการทำ Industrial IoT เพื่อพัฒนาระบบอุตสาหกรรมของคุณ

โดยสรุปแล้วการนำ Industrial IoT มาปรับใช้กับระบบอุตสาหกรรม สร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจในยุคอุตสาหกรรม 5.0 ได้อย่างคาดไม่ถึง จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจสำหรับองค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาใช้ระบบ Industrial IoT กันมากขึ้น

เพื่อช่วยให้คุณสามารถนำ Industrial IoT มาพัฒนาระบบอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และยกระดับองค์กรของคุณสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมทันสมัย Data Wow พร้อมสนับสนุนคุณ ด้วยระบบ AI Software สำหรับโรงงานและอุตสาหกรรม หากสนใจเข้ารับบริการปรึกษาด้าน Technology & AI Solutions/a> หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ โทร 02-024-5560 หรือ sales@datawow.io เราพร้อมให้คำปรึกษา

ติดต่อเรา

ชื่อ*

ชื่อบริษัท*

ชื่อตำแหน่ง

เบอร์โทรศัพท์*

อีเมล*

ข้อความ

ฉันต้องการรับโปรโมชันและข่าวสารทางการตลาดเกี่ยวกับ Data Wow และบริการอื่น ๆ จากเรา บริษัทในเครือ บริษัทย่อยและพันธมิตรทางธุรกิจ ​(คุณสามารถยกเลิกได้ทุกเมื่อ)
ผลิตภัณฑ์ของเรา
ที่ตั้งบริษัท

1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6
ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110
ประเทศไทย

ติดตามเรา
ISO ISMISO PIM